การให้สัญญาณ (signaling) ของ เซลล์พีระมิด

เหมือนกับนิวรอนอื่น ๆ โดยมาก เดนไดรต์โดยทั่วไปเป็นส่วนรับสัญญาณเข้าของเซลล์ประสาท และแอกซอนเป็นส่วนส่งสัญญาณออกทั้งแอกซอนและเดนไดรต์ต่างก็มีสาขามากซึ่งทำให้เซลล์สามารถส่งและรับสัญญาณกับนิวรอนต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

เหมือนกับนิวรอนอื่น ๆ นิวรอนพีระมิดมีช่องไอออนเปิดปิดด้วยความต่างศักย์ (voltage-gated ion channel) เป็นจำนวนมากเซลล์พีระมิดมีช่องไอออน Na+, Ca2+ และ K+ จำนวนมากในเดนไดรต์ และก็มีในตัวเซลล์บ้างด้วยโดยช่องที่เดนไดรต์จะมีคุณสมบัติต่างกับช่องไอออนประเภทเดียวกันที่ตัวเซลล์ช่อง Ca2+ ที่เปิดปิดด้วยความต่างศักย์ (Voltage-gated Ca2+ channel) ภายในเดนไดรต์ จะเริ่มทำงานด้วยศักย์แบบเร้าคือ excitatory postsynaptic potential (EPSP) ที่ต่ำกว่าขีด (subthreshold) และด้วยศักยะงานจากเซลล์เองแบบ back-propagating[upper-alpha 1]ขอบเขตของ back-propagation ของศักยะงานภายในเดนไดรต์ของเซลล์พีระมิดจะขึ้นอยู่กับช่อง K+ ในเดนไดรต์ช่องเป็นกลไกที่ใช้ควบคุมแอมพลิจูดของศักยะงาน[9]

สมรรถภาพการรวบรวมข้อมูลของเซลล์พีระมิดจะขึ้นอยู่กับจำนวนและการกระจายตัวของไซแนปส์ขาเข้าที่มีเซลล์หนึ่ง ๆ มีไซแนปส์ขาเข้าแบบเร้าประมาณ 30,000 อัน และแบบยับยั้ง (ด้วยสัญญาณ Inhibitory postsynaptic potential, IPSP) ประมาณ 1,700 อัน สัญญาณแบบเร้า (EPSP) ส่งมาที่เงี่ยงเดนไดรต์เท่านั้น เทียบกับสัญญาณแบบยับยั้ง (IPSP) ที่ส่งมาที่ก้านเดนไดรต์ (dendritic shaft) ตัวเซลล์ และแม้แต่ที่แอกซอนสารสื่อประสาทแบบเร้าที่เซลล์ได้รับคือ กลูตาเมต และแบบยับยั้งก็คือ กาบา[4]

การส่งกระแสประสาท

เซลล์พีระมิดสามารถจัดเป็นกลุ่ม ๆ ตามการตอบสนองเป็นกระแสประสาทต่อพัลส์ไฟฟ้า/พัลส์กระแสประสาทที่ได้ในช่วง 400-1,000 วินาทีรวมทั้งเซลล์ประสาทแบบ RSad, RSna และ IB

RSad

เซลล์ประสาทพีระมิดแบบ RSad หรือ adapting regular spiking neuron (นิวรอนที่ส่งสัญญาณยอดแหลมอย่างสม่ำเสมอและปรับตัวได้) ปล่อยกระแสประสาทเป็นศักยะงานต่างหาก ๆ ตามด้วยศักย์ไฟฟ้าตามหลัง (hyperpolarizing afterpotential) ที่ต่ำกว่าศักย์ช่วงพัก ศักย์ไฟฟ้าตามหลังอาจยาวขึ้น เป็นการปรับความถี่การส่งศักยะงาน (spike frequency adaptation, SFA) ภายในนิวรอน[10]

RSna

เซลล์ประสาทพีระมิดแบบ RSad หรือ non-adapting regular spiking neuron (นิวรอนที่ส่งสัญญาณยอดแหลมอย่างสม่ำเสมอและไม่ปรับตัว) จะส่งศักยะงานเป็นขบวนหลังจากได้รับพัลส์ไฟฟ้าขาเข้าแต่ไม่ปรากฏว่าปรับความถี่การส่งศักยะงาน[10]

IB

นิวรอนพีระมิดแบบ IB หรือ intrinsically bursting neuron (นิวรอนระเบิดส่งสัญญาณ) ตอบสนองต่อพัลส์สัญญาณที่ถึงขีดด้วยการระเบิดส่งศักยะงานอย่างถี่ ๆ 2-5 อันโดยไม่ปรากฏว่าปรับความถี่ศักยะงาน[10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เซลล์พีระมิด http://static.howstuffworks.com/gif/brain-neuron-t... http://www.trinity.edu/rblyston/MicroA/Lectures/L1... http://ccdb.ucsd.edu/sand/main?mpid=51&event=displ... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2438381 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2567132 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11226691 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14576205 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14602839 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17079652 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17920812